top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนทนายเอ็ม

การยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกนั้น วัตถุที่ยักย้ายหรือปิดบังต้องเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น

ทรัพย์มรดก คือทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของผู้ตายและทรัพย์มรดกนี้ยังรวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ และความรับผิดต่างๆของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ตายนั้นด้วย อันจะตกแก่ทายาทได้ ดังนั้นหากทรัพย์ที่ถูกยักย้ายหรือปิดบัง ไม่ใช่ทรัพย์มรดก ก็ไม่อาจมีกรณียักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก อันอาจถูกจำกัดมิให้รับมรดกได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535 ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1 โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 (เดิม) จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน ทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภรรยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 และมาตรา 1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้ทายาทคนหนึ่งปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ทายาทคนนั้นก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15165/2555 การถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605 ทายาทที่ถูกกำจัดนั้นต้องมีพฤติการณ์ยักย้ายทรัพย์มรดกหรือปิดบังทรัพย์มรดก ข้อเท็จจริงได้ความว่าขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นได้กล่าวอ้างถึงอาวุธปืนและที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 6959 ว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ซึ่งโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน และเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนผู้ร้องจาการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า อาวุธปืนยังมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ โดยจำเลยที่ 1 ได้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทแล้ว ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 6959 ผู้ตายได้ยกให้แก่ทางราชการและเป็นที่ราชพัสดุไปแล้วก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตาย จึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกอีกต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ส่วนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8279 และ 8082 นั้นเดิมคือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 4553 และ 1170 ซึ่งโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้วว่ามีอยู่ตั้งแต่ผู้ตายยังมีชีวิต และการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดมรดกโอนที่ดินมีโฉนดดังกล่าวและอาวุธปืนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดก หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในอายุความ


อ้างอิง : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605

ดู 36 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

PDPA คือ อะไร

PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน...

การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการชำระหนี้ที่มีสภาพบังคับแก่เจ้าหนี้ทุกรายของลูกหนี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาในการที่เจ้าหนี้แต่รายจะแข...

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page