top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนทนายเอ็ม

การโอนสิทธิเรียกร้อง

การโอนสิทธิเรียกร้อง คือ การโอนสิทธิความเป็นเจ้าหนี้ ส่วนการโอนหน้าที่หรือโอนความเป็นลูกหนี้นั้นโอนกันไม่ได้

การโอนหน้าที่ในความหมายที่จะให้คนใหม่เข้ามารับหน้าที่เป็นลูกหนี้แทนต่อไปนั้นจะทำได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องยินยอมทำสัญญารับเอาลูกหนี้คนใหม่มาเป็นลูกหนี้ โดยต้องเลิกความผูกพันกับลูกหนี้เดิมเสียก่อน ในทางนิตินัยแล้วการแปลงหนี้โดยเปลี่ยนลูกหนี้ไม่ใช่การโอนหน้าที่เพราะมีการล้มเลิกหนี้สินความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนเก่าก่อนเท่ากับไม่มีอะไรเหลือที่จะโอนไปแล้ว เมื่อไม่มีอะไร

เหลืออยู่ที่จะโอนไปยังคนใหม่จึงไม่ใช่การโอนหน้าที่

ปกติแล้วสิทธิเรียกร้องที่เป็นทรัพย์สิน สามารถโอนกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 303 “สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้” โดยสิทธิเรียกร้องที่โอนไม่ได้มีด้วยกัน 3 กรณี คือ

  1. สิทธิโดยสภาพไม่เปิดช่องให้มีการโอน เช่น สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมที่ถูกกระผิดทางอาญาทุรศีลธรรม

  2. คู่สัญญามีเจตนาห้ามโอนไว้ เช่น มีสัญญาระบุว่าห้ามโอน แต่อย่างไรก็ตามข้อนั้นจะยกเอาการแสดงเจตนานั้นยันกับบุดคลภายนอกผู้สุจริตไม่ได้

  3. สิทธิที่ยึดไม่ได้จะโอนไม่ได้ เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดู เงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ

การโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่สัญญาไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนการโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญานั้น เป็นการโอนหนี้ต้องพึงชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะเจาะจง จึงต้องทำเป็นหนังสือระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนแล้วแจ้ง หรือบอกกล่าวการโอนให้แก่ลูกหนี้ทราบ

ซึ่งการทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้น จะทำให้ผู้โอนและผู้รับโอนได้สิทธิ ดังนี้

1. เมื่อทำหนังสือบอกกล่าวการโอนแล้วผู้โอนสามารถยกการโอนสิทธิกับลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้สำหรับลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกนั้น หากผู้โอนไม่มีคำบอกกล่าวหรือไม่มีคำยินยอมจากลูกหนี้เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เท่ากับไม่มีการโอนกันเลย ดังนั้น ในทางปฏิบัติมักจะใช้วิธีบอกกล่าวเป็นหนังสือ ซึ่งเมื่อบอกกล่าวไปแล้วเจ้าหนี้ของผู้โอนจะขออายัดหรือยึดถือสิทธิเรียกร้องนั้น ผู้รับโอนก็อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้

2. การทำหนังสือบอกกล่าวเป็นผลให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ไปยังผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง

3. ถ้าไม่มีการทำหนังสือบอกกล่าว ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิ หากเจ้าหนี้ไปโอนเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นซ้ำ แต่มีการบอกกล่าวก่อน ผู้รับโอนคนหลังจะมีสิทธิดีกว่า

หมายเหตุ : การโอนสิทธิเรียกร้องโดยบอกกล่าวไปยังลูกหนี้นั้น ไม่จำเป็นต้องให้ลูกหนี้ยินยอม (คำพิพากษาฎีกาที่ 6507/2550)

“จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. มีต่อจำเลยทั้งสี่และได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยทั้งสี่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะตกลงด้วยหรือไม่ก็ตาม”

ดู 515 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

PDPA คือ อะไร

PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน...

การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการชำระหนี้ที่มีสภาพบังคับแก่เจ้าหนี้ทุกรายของลูกหนี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาในการที่เจ้าหนี้แต่รายจะแข...

การยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกนั้น วัตถุที่ยักย้ายหรือปิดบังต้องเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น

ทรัพย์มรดก คือทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของผู้ตายและทรัพย์มรดกนี้ยังรวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ และความรับผิดต่างๆของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ต...

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page