top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนทนายเอ็ม

สิทธิการฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดิน ซึ่งเกิดจากการทำนิติกรรมการฉ้อฉล

การเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล ที่เป็นวิธีการทำให้ทรัพย์สินกลับเข้ามาสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเดิม เนื่องจากนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำไปนั้นมีผลสมบูรณ์ แต่เป็นการฉ้อฉลทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าหนี้ต้องใช้การฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

“มาตรา 237 เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริง อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมีให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน”


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2560

โจทก์ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมายเพื่อให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การ จำเลยที่ 1 จึงต้องทราบแล้วว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมและจำเลยที่ 1 มีหนี้เงินกู้ยืมที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาท ให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นเวลาภายหลังจากทราบว่ามีหนี้เงินกู้ยืมที่จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่ดินพิพาทเพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ทั้งหมดตามที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไว้แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในคดีแพ่ง ของศาลชั้นต้นไว้แล้ว โดยจำเลยที่ 1 ขายที่ดินรวม 3 แปลง นอกจากนี้จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่บ้านเดียวกันกับจำเลยที่ 1 และพี่น้องคนอื่นด้วย โดยมารดาจะเรียกบุตรมาปรึกษาหารือเกี่ยวกับหนี้สินของจำเลยที่ 1 แล้วก็ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 และ อ. ช่วยกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หลายรายแทนจำเลยที่ 1 เช่น การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นน้องสาวของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ดำเนินการในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ตลอดมา จึงเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ที่รู้ดีว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้บุคคลใดบ้าง จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้หรือไม่ และจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ได้เพียงใด ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาทในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าวนั้น นับได้ว่าเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทโดยรู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ กรณีจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้

ดู 1,950 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

PDPA คือ อะไร

PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน...

การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการชำระหนี้ที่มีสภาพบังคับแก่เจ้าหนี้ทุกรายของลูกหนี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาในการที่เจ้าหนี้แต่รายจะแข...

การยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกนั้น วัตถุที่ยักย้ายหรือปิดบังต้องเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น

ทรัพย์มรดก คือทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของผู้ตายและทรัพย์มรดกนี้ยังรวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ และความรับผิดต่างๆของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ต...

Comentarios

Obtuvo 0 de 5 estrellas.
Aún no hay calificaciones

Agrega una calificación
bottom of page