top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนทนายเอ็ม

สิทธิและหน้าที่ผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกอาจมีที่มาจากโดยทายาทแต่งตั้ง โดยพินัยกรรม หรือโดยคำสั่งศาล ซึ่งผู้จัดการมรดกแต่ละประเภทนั้นกฎหมายให้มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน

สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลและผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมที่สำคัญมีอยู่ 2 ประการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 กล่าวคือ ประการแรก สิทธิและหน้าที่กระทำการเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และประการที่สอง สิทธิและหน้าที่ที่จะจัดการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก

สิทธิของผู้จัดการมรดกนั้น ไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมาย แต่อาจจะพิจารณาได้จากกฎหมายลักษณะมรดกว่า ผู้จัดการมรดกมีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายกฎหมายกำหนดไว้ในอัตราส่วนนั้น ๆ เท่านั้น

หน้าที่ผู้จัดการมรดก

1. หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว

2. หน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดก (วันฟังคำสั่งศาลหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว ตามข้อ 1)

3. ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน หากไม่เสร็จภายใน 1 เดือน ผู้จัดการมรดกร้องขอต่อศาลอนุญาตขยายเวลาอีกได้ แต่ต้องขอขยายก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน

4. บัญชีทรัพย์มรดกต้องมีพยาน 2 คน และต้องเป็นทายาทที่มีส่วนได้เสียในกองมรดก (คำว่าบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งจัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดกหมายถึง บัญชีทรัพย์ซึ่งผู้จัดการมรดกที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลเป็นผู้ทำ หาใช่บัญชีทรัพย์ที่ยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่เพราะขณะทำบัญชีทรัพย์ถือว่ายังไม่มีหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก)

5. ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดหรือบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการทุจริต หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้

6. ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่ และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันฟังคำสั่งศาล หรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้วเว้นแต่ทายาทโดยจำนวนข้างมาก หรือศาลจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

7. ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดกเว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทจำนวนข้างมากจะได้กำหนดไว้

8. ผู้จัดการมรดกจะทำพินัยกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล

9. ผู้จัดการมรดกต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง

10. ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใด ๆ หรือประโยชน์อื่นใด อันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าให้เป็นลาภส่วนตัวย่อมไม่ผูกพันทายาท เว้นแต่ทายาท เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย

11. ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มรส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร

12. ทายาทจะต้องบอกทรัพย์สินมรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก

13. ผู้จัดการมรดกต้องจัดแบ่งสินมรดกและชำระหนี้กองมรดก (ถ้ามี) เสียก่อน

อย่างไรก็ตามในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้น ผู้จัดการมรดกต้องมีจิตสำนึกว่าเป็นการจัดการแทนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกในกรณีเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือจัดการแทนผู้รับพินัยกรรมในกรณีที่มีการทำพินัยกรรม มิใช่กระทำเพื่อตัวผู้จัดการมรดกเอง ผู้ที่เป็นผู้จัดการมรดกได้จึงต้องเป็นผู้เสียสละและมีความซื่อสัตย์สุจริตเพราะถ้ากระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว

ดู 205 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

PDPA คือ อะไร

PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน...

การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการชำระหนี้ที่มีสภาพบังคับแก่เจ้าหนี้ทุกรายของลูกหนี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาในการที่เจ้าหนี้แต่รายจะแข...

การยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกนั้น วัตถุที่ยักย้ายหรือปิดบังต้องเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น

ทรัพย์มรดก คือทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของผู้ตายและทรัพย์มรดกนี้ยังรวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ และความรับผิดต่างๆของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ต...

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page