top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนทนายเอ็ม

ให้เรียกฉันว่า “นายหน้า”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 "บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้า เพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทำสัญญากันก็ดี ท่านว่า บุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันสำเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทำกันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบำเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว

นายหน้ามีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไป ก็ต่อเมื่อได้ตกลงกันไว้เช่นนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิได้ทำกันสำเร็จ"


นายหน้า คือ บุคคลที่ตกลงว่าจะเป็นคนกลางในการทำหน้าที่ชี้ช่องทางหรือจัดการให้บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าตัวการ ได้เข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยบุคคลที่เป็นตัวการนั้นตกลงจะให้ค่าตอบแทนที่เรียกว่า“ค่าบำเหน็จ” แก่คนกลางที่เรียกว่า “นายหน้า” ในการทำหน้าที่ดังกล่าว เมื่อตัวการได้เข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก อันเป็นผลโดยตรงมาจากการที่มีคนกลางซึ่งเป็นนายหน้า ได้ทำหน้าที่ในการชี้ช่องทางหรือจัดการให้บุคคลภายนอกนั้นได้เข้าทำสัญญากับตัวการแล้ว นายหน้านั้นก็มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่เรียกว่า “ค่าบำเหน็จ” หรือที่เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ค่านายหน้า” จากตัวการตามที่ได้มีการตกลงกันไว้ สัญญานายหน้าจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ทำก็ได้

สัญญานายหน้า คือ สัญญาต่างตอบแทนในรูปแบบหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากการตกลงของตัวการกับนายหน้า เพื่อให้นายหน้านั้นไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ชี้ช่องทางหรือจัดการหรือติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งจนสามารถตกลงซื้อขาย เช่น รถ บ้าน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นใด ฯลฯ นั้นได้ ตามวัตถุประสงค์ที่ตัวการต้องการ ซึ่งสัญญานายหน้านั้นจะผูกพันระหว่างตัวการและนายหน้า ทำให้ตัวการต้องจ่ายค่าตอบแทนที่เรียกว่า “ค่าบำเหน็จ” แก่นายหน้าเมื่อทำหน้าที่สำเร็จ

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา4362/2545

โจทก์เป็นผู้เริ่มต้นติดต่อขอซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 และเจรจาติดต่อกับญาติพี่น้องของจำเลยที่ 1 หลายครั้ง รวมทั้งไปพบกันที่บ้านมารดาจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เสนอขายที่ดินต่อบริษัท ค. แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าวรวมทั้งโจทก์ต่างก็มาดูที่ดินที่จะซื้อขายตลอดทั้งนำเจ้าหน้าที่ของบริษัท ค. มาเจรจาตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยทั้งสองและได้จดทะเบียนให้บริษัท ค. เช่าที่ดินเป็นผลสำเร็จนั้น จึงเกิดจากการที่โจทก์เป็นผู้ชี้ช่องให้ทั้งสองฝ่ายเข้าทำสัญญากันการที่โจทก์เป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่ต้นโดยไม่เคยรู้จักกับบริษัท ค. และไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 กับเจ้าของที่ดินรายอื่นๆ มาก่อน ต้องเข้าร่วมเจรจาติดต่อกับเจ้าของที่ดินทั้งหลายก็เพื่อต้องการผลประโยชน์เป็นค่านายหน้าไม่ใช่ทำให้เปล่า หากโจทก์ไม่ได้ค่านายหน้าเป็นผลตอบแทนในการเจรจาติดต่อในครั้งแรกแล้ว การดำเนินการใด ๆ ต่อมาคงไม่เกิดขึ้น และการที่บริษัท ค. กำหนดข้อห้ามไม่ให้ ส. รับประโยชน์หรือค่านายหน้าจากจำเลยที่ 1 นั้น ก็เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบริษัท ค. กับ ส. ไม่เกี่ยวกับโจทก์ ทั้งไม่ได้ความว่าโจทก์ตกลงยกเลิกสัญญานายหน้ากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะปฏิเสธไม่ชำระค่านายหน้าแก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2542

โจทก์จัดหาผู้ซื้อมาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลย โดยจำเลยให้ค่าบริการแก่โจทก์ร้อยละ 1.5 ของยอดขายตามสัญญา คิดเป็นเงิน 7,470,604.95 บาท ตกลงแบ่งชำระเป็น 3 งวด ดังนั้น เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์เพียงงวดเดียวจำเลยจึงต้องรับผิดชำระงวดที่สองและงวดที่สามที่เหลือ แม้ต่อมาผู้ขายจะตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญากับ ผู้ซื้อใหม่โดยลดยอดขายลงก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเงินจนครบ เพราะถือว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายกันเป็นผลสำเร็จเนื่องจากการที่โจทก์ชี้ช่องหรือจัดการแล้ว

ดู 360 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

PDPA คือ อะไร

PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน...

การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการชำระหนี้ที่มีสภาพบังคับแก่เจ้าหนี้ทุกรายของลูกหนี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาในการที่เจ้าหนี้แต่รายจะแข...

การยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกนั้น วัตถุที่ยักย้ายหรือปิดบังต้องเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น

ทรัพย์มรดก คือทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของผู้ตายและทรัพย์มรดกนี้ยังรวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ และความรับผิดต่างๆของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ต...

Kommentare

Mit 0 von 5 Sternen bewertet.
Noch keine Ratings

Rating hinzufügen
bottom of page